วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

อธิบายวิธีการและความแตกต่างของ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และ ทัศนคติ

องค์ความรู้ หมายถึง

สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น องค์ความรู้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ในการเรียนรู้ที่จะนำสารสนเทศมาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นกับการฝึกฝน และมุมมองในการเลือกสารสนเทศไปใช้

ภูมิปัญญา หมายถึง

เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้เรียนรู้ สั่งสม และทดลองใช้ จนเกิดเป็นแบบแผนที่มีคุณค่าในการดำเนินชีวิต โดยมีการถ่ายทอดกันสืบต่อมา ภูมิปัญญานั้นรวมความไปถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ ซึ่งมนุษย์ได้สร้างสรรค์ไว้เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนแก้ปัญหาได้ และสร้างสรรค์อารยธรรมได้ อย่างมีดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญานั้นไม่ได้เกิดมาอย่างเป็นเอกเทศ แต่มีการแลกเปลี่ยนเลือกเฟ้นและปรับใช้ภูมิปัญญาจากอารยธรรมอื่นตลอดมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน


ทัศนคติ หมายถึง

ความรู้สึก และ ความคิดเห็น ที่บุคคล มีต่อสิ่งของ บุคคล สถานการณ์ สถาบัน และข้อเสนอใด ๆ ในทางที่จะยอมรับ หรือปฏิเสธ ซึ่งมีผลทำให้ บุคคลพร้อม ที่จะ แสดงปฏิกิริยา ตอบสนอง ด้วย พฤติกรรม อย่างเดียวกันตลอด


ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าองค์ความรู้
ภูมิปัญญา และทัศนคตินั้นทั้งสามสิ่งมีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกัน เมื่อเราดำรงชีวิตจากเล็กจนเป็นผู้ใหญ่ หรือมีอายุสูงขึ้น แต่ละคนนั้นย่อมเกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมต่างๆเมื่อเกิดการเรียนรู้จึงก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญา เกิดแบบแผนในการดำเนินชีวิตต่างๆที่ได่สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิด เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นซึ่งใช้อธิบายสิ่งที่เป็นความรู้ภายในที่ไม่สามารถอธิบายหรือบรรยายได้ในบางลักษณะเมื่อเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วจึงเกิดเกิดทัศนคติที่ส่งผลให้มนุษย์เกิดการประพฤติปฏิบัติหรือสนองต่อการดำเนินชีวิตอย่างเป็นแบบแผนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น