วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อธิบายกลยุทธ์ Red Blue Write Ocean พร้อมยกตัวอย่าง

Red Ocean
หลักการของ Red Ocean นั้นจะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มีอยู่ แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้า และอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร


ตัวอย่าง
Red Ocean : บริษัทประเภทคอมพิวเตอร์
จะเห็นได้ว่าธุรกิจบริษัทประเภทคอมพิวเตอร์มีการแย่งลูกค้าทางการตลาดกันมากเมื่อคู่แข่งออกแบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ฟังก์ชั่นใหม่ๆมา แล้วขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้าก็จะแข่งกันผลิตขึ้นมา และกลายเป็นว่ามีการแข่งขันทางการตลาดสูง ส่งผลให้ขายไม่ได้และผู้ประกอบการเกิดการขาดทุน

Blue Ocean

หลักการของ Blue Ocean พยายามหักล้างแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเสนอว่า แทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน ถ้าองค์กรต้องการที่จะเติบโตจริงๆ จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็น Red Ocean ที่ดุเดือดแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อ คือ
1.การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริงๆ แล้ว ในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2.การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆ อาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด
3.การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4.การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน

ตัวอย่าง Blue Ocean : เครื่องสำอาง Body Shop ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ออกมา กระแสความตื่นตัว และตื่นเต้นไปกับแนวคิดของ Body Shop มีมากทีเดียว รวมทั้งความสำเร็จ เนื่องจาก Body Shop ได้ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean ในการขายเครื่องสำอางของตนเอง นั้นคือแทนที่จะมุ่งเน้นทำเหมือนคู่แข่งขันรายเดิมๆ ที่อยู่ในธุรกิจเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม หรือการสร้างภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีชั้นสูง หรือการใช้ดาราหรือนางแบบชื่อดังมาโฆษณา หรือการตั้งราคาที่สูง แต่สิ่งที่ Body Shop นำเสนอคือคุณค่าที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ ในตลาดเครื่องสำอาง นั้นคือไม่เน้นในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ และหีบห่อที่สวยงาม สาเหตุที่ลดเนื่องจากคิดว่าไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้ามองหา จึงไม่เน้นเป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ไม่เน้นภาพลักษณ์ที่หรูหรา แต่เน้นการใช้ส่วนผสมตามธรรมชาติ และการดำรงชีวิตแบบมีสุขภาพที่สมบูรณ์ Body Shop ไม่ได้เน้นในการแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่พยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆให้ลูกค้า เป็นการสร้าง Blue Ocean ขึ้นมา แทนที่จะมุ่งเน้นแต่ Red Ocean แบบเดิมๆ ข้อคิดที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือเมื่อ Body Shop สร้าง Blue Ocean มาได้แล้ว ไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคู่แข่งที่อยากจะเข้ามาในทะเลสีฟ้านี้ด้วยเช่นกัน และเมื่อคู่แข่งเข้ามามากขึ้น และกลยุทธ์ที่ใช้ก็จะไม่หนีกัน


White Ocean

กลยุทธ์น่านน้ำสีขาวคือทางสายกลางที่เป็นทางออกของวิกฤตเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จากความล่มสลายของความสุดโต่งทั้ง 2 สาย คือทุนนิยมที่มุ่งเน้นกำไรและการปั่นตัวเลขด้วยการปลูกฝังผิดๆ ให้สร้างความมั่งคั่งที่สุดแก่ผู้ถือหุ้น จนขาด ศีลธรรมและสติ ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤตไป ทั่วโลก กับสังคมนิยมที่ขาดแรงกระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพเนื่องจากปัจจัยด้าน เศรษฐกิจ

ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก 7 ประการ

1.การเกิดขึ้นและมีอยู่ขององค์กรเป็นไปเพื่อสร้างผลเชิงบวกต่อสังคมโดย รวม (Net Positive Impact on Socity) หรือการมองที่ต้นทาง-การที่จะเป็นองค์กรสีขาวจะต้องเริ่มตั้งแต่วันแรกของ การทำธุรกิจ ที่จะตอบโจทย์ปัญหาสังคมที่มีให้คลี่คลายไป จากความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญขององค์กรเพราะต้นทางที่ดี ย่อมนำมาสู่ปลายทางที่ดีเสมอ

2.ตั้งเป้าหมายระยะยาวและมองภาพใหญ่ในระดับมหภาค (Long-term Goal, Macro View) การมองแบบใฝ่สูง มองถึงระยะยาวมากกว่าผลเพียงระยะสั้น ทำให้องค์กรก้าวไปสู่ความยั่งยืน บางองค์กรมองไปในอีก 20 ปี บางองค์กรมองไปไกลถึง 100 ปี

3.แสวงหาจุดสมดุลระหว่างคน (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) และผลกำไร (Profit) โดยมีความมุ่งมั่นศรัทธาในการเปลี่ยนแปลงสังคม (Passion) เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน

4.ยืนอยู่บนหลักการของโลกอันสมบูรณ์ (The World of Abudance) ซึ่งนี่เป็นความต่างกับองค์กรธุรกิจในมุมมองของ Red Ocean ที่มองว่าทรัพยากรมีจำกัดต้องแข่งขันกัน หรือ Blue Ocean ที่ต้องแสวงหาตลาดใหม่ ใน White Ocean มองว่าทรัพยากรของโลกมีอยู่อย่างสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องแข่งขันแก่งแย่ง เมื่อสำเร็จแล้วก็สามารถเชื้อเชิญให้คนอื่นมารับผลสำเร็จได้ด้วย

5.ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม ความเป็นจริง และความเป็นเนื้อแท้ (Integrity) เป็นการตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีโดยเนื้อแท้ ทั้งในสิ่งที่เราคิด พูด เชื่อ และทำ โดยไม่ได้สร้างภาพ โดยจุดศูนย์กลางขององค์กรจะย้ายจากผู้บังคับบัญชามาอยู่ในจุดศูนย์กลางที่ เป็น Best Practice ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นคนคิดอาจจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ถ้าเป็นหลักปฏิบัติที่ดีที่สุดก็จะต้องให้ความสำคัญ

6.เป็นองค์กรที่ระเบิดจากข้างในและมี ดีเอ็นเอความรับผิดชอบอยู่ในตัวพนักงานทุกคน (Individual Social Responsibility) โดยการเปลี่ยนแปลงคนในองค์กรให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมก่อนจึงจะขยายสู่ สังคม

และ 7.เป็นผู้สร้างบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการ (Set the Benchmark) เรื่องนี้ เป็นเหมือนกับองค์กรที่ใช้สมองซีกขวาในการคิด กล้าคิดนอกกรอบ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมีอิสรภาพความคิดไปได้อย่างไม่มีที่ สิ้นสุด


ตัวอย่าง White Ocean : บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)

ซึ่งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ได้สร้างผลเชิงบวกและช่วยเหลือสังคมได้อย่างดี เพราะช่วยเหลือรัฐบาลในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรม ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ขนส่ง ที่ทำให้ประชาชนชาวไทยมีสาธารณูปโภค การเดินทาง การใช้ชีวิตที่ดีและมั่นคงมากยิ่งขึ้น